ใบไม้...สื่อเพื่อการเรียนรู้ของหนู
กิ่งก้านใหญ่พอทานลม
ใบไม้คนนิยม
ใช้เป็นร่มกั้นแดดฝน
น่าดูเชียวสายตาคน
ชอุ่มคราวยามยล
เหมือนฟ้าดลให้คู่กัน
หล่นพื้นหลายคืนวัน
จึงเป็นชั้นซ้อนดินดาน
ดินร่วนซุยเมื่อเนิ่นนาน
ปุ๋ยใดจักเทียมปาน
เกิดจากการทับถมใบ
วิลามาศ-ประพันธ์)
ทั้งเป็นที่กันลมกันแดด ให้ความสบายตาสบายใจ ให้ปุ๋ยอันเป็นประโยชน์ต่อผืนดิน
และสำหรับเด็กๆ แล้ว "ใบไม้"
ยังให้ประโยชน์อีกมากมายจนเราอาจทึ่งว่าของใกล้ตัวอย่างใบไม้...ใครจะไปคิดว่าคุณพ่อคุณแม่
(หรือคุณครู)
สามารถนำมาเป็นเครื่องมือให้เจ้าตัวน้อยได้เรียนรู้สารพัดเรื่องราวได้ขนาดนี้
แล้วมาเรียนรู้เรื่องต่างๆ กัน บางเรื่องผู้ใหญ่อย่างเราๆ
เองก็อาจไม่ได้สังเกตมาก่อนเหมือนกันว่าใบไม้น่ะมีเรื่องราวแฝงอยู่มากมาย
ตั้งแต่สีเขียวสีเขียวที่เราคุ้นเคยไปจนถึงระดับต่างๆ สีเหลือง สีส้ม สีแดง
สีน้ำตาล
ก็มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันมากมาย ทั้งใบเรียวยาว ใบกลมป้อม
ใบคล้ายหยดน้ำขนาดใหญ่ หรือใบมะนามไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น
ลองจับมาเรียงดูสิแล้วเราจะทึ่งกับความแตกต่างของรูปทรงใบไม้ที่เห็น
เช่น ผักบุ้ง ไปจนถึงใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย (ใบตอง) หรือใบบัว เป็นต้น
เอามือลูบดูผิวสัมผัสนั้น
และสังเกตความแตกต่างของเส้นใบนั้นว่าแต่ละชนิดมีเส้นใบที่ต่างกันหรือไม่ อย่างไร
หรือบางชนิดก็แข็งหนา บางชนิดก็บาง ให้ลูกได้สัมผัสถึงความแตกต่างนี้
(สีน้ำตาล) ลองถามเขาว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการสอนเรื่องความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติตามหลักวิทยาศาสตร์
นับจำนวนใบไม้ในแต่ละกิ่งที่เขาตัดมาว่ามีเท่าไหร่
และเปรียบเทียบว่าต้นไม้ที่ต่างชนิดกันมีจำนวนใบในแต่ละกิ่งเท่ากันหรือแตกต่างกัน เด็กๆ จะเห็นว่าใบไม้มีทั้งใบเดี่ยว
คือใบที่มีแผ่นใบไม้เพียงแผ่นเดียวบนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น และใบประกอบ
คือใบที่มีใบย่อยมากกว่าหนึ่งใบบนก้านใบ ลองนับและสังเกตกันดูสิจ๊ะ
จะได้เรียนรู้ว่าใบไม้สีเขียวนั้นมีประโยชน์ต่อทุกสิ่งบนโลก สีเขียวให้ออกซิเจน
ให้ความสดชื่นสบายตาสบายใจ
ส่วนใบไม้ที่แก่ถึงเวลาที่ต้องร่วงหล่นลงพื้นนั้นก็จะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยให้พื้นดินต่อไป
คือการฝนสีเทียนบนกระดาษบางที่ทาบบนใบไม้ โดยหงายด้านที่เป็นเส้นใบขึ้น
ลายเส้นของใบไม้จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน
และการพิมพ์โดยการระบายสีโปสเตอร์บนใบไม้ แล้วคว่ำไปบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น
กระดาษ หรือผ้า
นำใบไม้ทั้งใบที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้มาติดในภาพเป็นภาพต้นไม้
อาจนำใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยวมาติดเป็นรูปพระจันทร์ หรือให้เด็กๆ
จินตนาการต่อเติมภาพจากใบไม้ หรืออาจนำใบไม้หลายสีมาตัดเป็นรูปทรง รูปร่างต่างๆ
แล้วนำมาประกอบเป็นภาพของตัวเอง
เช่นทำโมบาย ทำพวงหรีดแบบง่ายๆ เป็นส่วนประดับหมวก ทำเป็นปีกผีเสื้อ ฯลฯ
นำใบไม้ที่มีสีสันสวยงาม สดใส นอกจากสีเขียวอาจเป็นใบสีเหลือง สีแดง และใบไม้แห้ง
มาร้อยหรือติดกาวให้ยาวเป็นสายลงมาหลายๆ เส้น แล้วนำไปผูกที่น้าต่างหรือประตู
เป็นโมบายใบไม้ที่สวยงาม โดยไม่ต้องซื้อหาเลย
ด้วยการเป่าใบไม้ให้เกิดเสียง อาจต้องอาศัยการฝึกฝนบ้าง แต่ก็ไม่ยากที่จะลองทำดู
ขั้นแรกก็เลือกใบไม้ที่มีความบาง มีความมัน ยืดหยุ่นได้ดี เช่น ใบฝรั่ง ใบมะม่วง
ใบมะยม หรือใบอ่อน ฯลฯ แล้วใช้ริมฝีปากและแรงลมเป่า
เพื่อให้ริมฝีปากกับใบไม้ออกเสียงได้ตรงตามเสียงที่ต้องการ
- ใบไม้กินได้ เรียกว่าผัก
- ลักษณะนามของใบไม้ คือ "ใบ"
- ให้เด็กๆ สังเกตใบไม้เมื่อลมพัดมาว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
และลองให้เขาทำท่าเลียนแบบการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่เขาเห็น - แข่งกันแต่งประโยคที่มีคำว่า "ใบไม้" ให้ได้มากที่สุด
- ตั้งคำถามให้เด็กๆ ตอบว่า หากโลกนี้ไม่มีใบไม้ เขาคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- ให้ลูกเด็ดใบไม้สีเขียวสอดไว้ในสมุดหน้าละ 1 ใบ ไม่ให้ซ้อนกัน
จากนั้นนำหนังสือหนักๆ ทับสมุด ปล่อยทิ้งไว้สัก 1 อาทิตย์ กลับมาดูอีกที
จะเห็นว่าใบไม้เขียวกลายเป็นใบไม้แห้ง ที่ลูกสามารถเห็นเส้นใบได้อย่างชัดเจน
จากนั้นนำแต่ละใบมาจัดเรียงให้เป็นระเบียบ ทากาวบางๆ ติดลงไป
แล้วเขียนชื่อใบไม้แต่ละใบ วันที่ และสถานที่ที่เก็บได้
จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับใบไม้ได้ลึกซึ้งขึ้น เช่น
การเปลี่ยนแปลงของสีสัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น