วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการระบายสี

ขั้นตอน การระบายสี

การระบายสี เป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ที่จะทำให้ชิ้นงานเกิดความสวยงาม
การระบายวิธีที่ 1
  • หลังจากวาดลวดลายหลักด้วยปากกาความร้อนแล้ว ควรลบเส้นลอกลายเดิมออกให้หมดก่อนลงสี
  • ระบายสีอ่อน ๆ ก่อนเพื่อทดสอบ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะใช้สีใด ให้ระบายลงในแบบลายร่างที่ใช้ลอกลงบนชิ้นงาน เพื่อดูว่าสีที่เลือกใช้นั้นสวยงามเหมาะสมอย่างที่คิดไว้หรือไม่ ถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ค่อยระบายสีลงบนเนื้อไม้ โดยเริ่มจากสีอ่อนไล่ไปหาสีเข้ม
  • ใช้ปากกาความร้อนวาดลวดลายเพิ่มเติม เก้บรายละเอียดให้ครบถ้วน
  • หลังลงสีเรียบร้อยแล้ว จะวาดลายเส้นเพิ่มก้ได้ แต่ไม่ค่อยดีนัก เพราะจะทำให้เกิดเขม่าจับตรงปลายปากกา
การระบายวิธีที่ 2
  • ใช้ดินสอดำร่างลวดลายที่ต้องการลงบนไม้ให้สมบูรณ์
  • ลงสีครั้งที่ 1 เป็นสีอ่อนและสีกลาง
  • ลงลวดลายด้วยปากกาความร้อนตามรอยดินสอที่วาดไว้ โดยวาดเส้นหลัก ๆ ก่อนแล้วค่อยลงเส้นรายละเอียดทีหลัง
  • ลงสีครั้งที่ 2 ให้เป็นสีเข้มเพื่อเน้นแสงเงา และความคมชัดของภาพ แต่ไม่ควรระบายสีทับเส้นที่วาดด้วยปากกาความร้อนไว้แล้ว

การระบายสีไม้

ลงมือระบายเลยครับ....ระบายจากสิ่งที่อยู่ไกลสุดมาหาสิ่งที่อยู่หน้าสุด และระบายจากทิศตรงกันข้ามของมือข้างที่ถนัดไล่มาหาข้างที่ถนัดเพื่อมิให้ภาพและมือเลอะ ควรมีกระดาษรองมือด้วยเพื่อป้องกันเหงื่อและมือไปถูกไถภาพให้เสียหายวอดวายได้

ระบายอย่างไรให้สวยงาม?

เทคนิคพื้นฐานที่ผมมักจะพร่ำสอนเด็กๆที่ทำงานเวลาใช้สีไม้อยู้เป็นประจำ คือ ให้ระบายไปทางเดียวกัน หากระบายมั่วซั่ว ซ้ายทีขวาที่จะทำให้สีไม่เรียบและมั่วได้....อันนี้เป็นเทคนิดแบบพื้นสุดๆเลยนะครับ...

หากเรามั่นใจในตัวเองแล้วว่า เราระบายสีไม่เรียบ เข้ม เนียน แล้วอ่านต่อเลยครับ

การที่เราจะใช้สีไม้ให้ได้ประสิทธิภาพและดึงเอาพลังในตัวสีออกมาให้ได้มากที่สุดนั้น(ขนาดนั้น) เราต้องมีพื้นฐานการดรอวอิ้ง วาดภาพแรเงาบางเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อสะดวกเวลาให้แสงเงาและน้ำหนักมือที่ใช้ในการระบาย 2อย่างนี้สำคัญมากครับในการระบายเพื่อนำไปสู่เทคนิคอื่นๆอีกมากมาย เช่น การไล่เฉดสี การผสมสี การเบรคสี

วิธีการระบาย การใช้น้ำหนักมือนั้น ผมของแบ่งออกเป็น2วิธีในการละเลงสีไม้ลงไปในภาพนะครับ อันแรกคือการระบาย อันที่สองคือการซอยเส้น...การระบายนั้น ก็คือวิธีการที่เราใช้มาตั้งแต่เด็กๆแหละครับ หยิบสีมา ถูๆระบายๆลงไปในภาพ ไม่เหมือนกับการซอยเส้น ซึ่งเป็นวิธีการที่มีพื้นฐานมาจากการดรอวอิ้งวาดภาพแรงเงา ซึ่งจะยากกว่า ลำบากกว่า นานกว่า แต่งานที่ได้ออกมาก็คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปครับ เราสามารถบังคับให้มันออกมาดูนิ่มนวล สมูธ ละมุนตาได้ไปจนกระทั่งดูแข็งกร้าว รุนแรง มีพลังเลยทีเดียว เป็นการใช้เทคนิคซอยแล้นและสานเส้น ...ผิดกับการระบาย ซึ่งน้ำหนักของสีจะออกมาดูสากๆธรรมดาๆ เหมือนการระบายสีทั่วๆไปที่เด็กๆก็สามารถจะทำได้โดยไม่ต้องเรียนรู้เลย...

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

โมบาย

 โมบายเป็นอุปกรณ์ตกแต่งภายในอย่างหนึ่งที่ทำให้บ้านเรามีบรรยากาศที่น่าอยู่มากขึ้น ดูมีชีวิตชีวา         เราสามารถสร้างห้องภายในบ้านของเราให้มีบรรยากาศไปในแนวที่เราต้องการ โมบายสามารถทำได้จากวัสดุหลายชนิดแล้วแต่จะเลือก วันนี้เราจะทำจากกระดาษก่อนนะครับ ก็ใช้กระดาษสีธรรมดา  หรือจะดัดแปลงใช้กระดาษสีแบบอื่นเช่น แบบที่มีความมันเงาก็ได้  ก็จะดูสวยไปอีกแบบแต่ราคากระดาษก็จะแพงตามไปด้วยครับ
วัสดุที่ต้องใช้
                  
                   1กระดาษสี หลายๆสี 
                  2กาวลาเท็กซ์
                  3กระดาษแข็งแบบบาง
                  4ด้ายสีขาวหรือสีอื่นๆ
                    
                   เครื่องไม้เครื่องมือ
                  
                   1กรรไกร 
                  2ดินสอ
                  3 ที่เจาะรู
                  
                   วิธีทำ

                                 
                              
                              ก่อนอื่นต้องใช้ดินสอร่างแบบลงบนกระดาษแข็งเพื่อทำรูปสัตว์ต่างๆ
                              มีปลาหมึกตัวใหญ่  ปลาหลายๆชนิด ปลาดาว
                              ร่างแบบแบบฟรีแฮนด์ ได้เลยครับ
                              วาดออกมาประมาณแปดตัวขนาดและแบบต่างๆกันตามต้องการ
                              จากนั้นใช้กระดาษแข็งนี้วาดแบบลงกระดาษสีอีกครั้ง
                              ทำแบบละ 2 แผ่น อย่าลืมสลับด้านซ้าย - ขวาด้วยนะครับ
                              จากนั้นใช้กรรไกรตัดออกมาให้มีขนาดโตกว่ากระดาษแข็งเล็กน้อย
                                

                                 
                              
                              นำกระดาษสีที่ตัดเสร็จแล้วมาพับขอบเข้าไปเล็กน้อยแล้วฉีกออกให้เป็นรอยฉีกตลอดแนวขอบ
                              ทำทั้งสองด้าน
                                

                                 
                              
                              นำกระดาษสีมาทากาวประกบกันโดยมีกระดาษแข็งอยู่ตรงกลาง
                              จัดให้ขอบกระดาษสีที่มีรอยฉีกเหลื่อมกัน
                              เมื่อเรามองจะเห็นสีขอบเป็นสีขาวๆตามแนวขอบกระดาษ
                              ตัดกระดาษสีอื่นที่โทนสีตัดกันทำเป็น ลูกตา ลวดลาย
                                

                                 
                               ส่วนปลาหมึกทำแยกเป็นสองชิ้น ชิ้นบนกับชิ้นล่าง
                              ชิ้นบนให้ใช้กรรไกรตัดบากตรงกลางส่วนที่เป็นหนวด
                              ส่วนชิ้นล่างบากตรงกลางส่วนหัว เมื่อนำมาสวมกัน
                              เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปเลขบวก (ดูรูปถัดไป)
                              ใช้ที่เจาะรูเจาะปลายหนวดปลาหมึก
                                

                                 
                               นำปลาสีและขนาดต่างๆมาผูกร้อยกับด้ายสลับกัน
                              ต้องทดลองแขวนเพื่อหาสมดุลย์ ตรงนี้ค่อยๆทำนะครับ
                              หากไม่ได้สมดุลย์จริงๆอาจทำปลาเพิ่ม 
                                
                                     
                              อันนี้เป็นแบบง่ายๆนะครับดัดแปลงรูปแบบได้ตามสะดวก
                              จะทำโมบายอะไรก็ขอให้มีเรื่องราวไปในทางเดียวกัน
                              เช่น ทะเล ก็มีรูปปลาทะเลต่างๆ  รูปเพื่อนๆ
                              ก็อาจเอารูปเพื่อนมาติดบนกระดาษสีที่ทำเหมือนกรอบรูป
                              อวกาศ ก็วาดเป็นรูปดวงดาว ยานอวกาศ อะไรทำนองนี้
                              ขอให้สนุกกับงานประดิษฐ์ครับ
...

การปั้นดินน้ำมันรูปทรงอิสระ


งานปั้น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานปั้น
การปั้น คือ การนำเอาวัสดุเนื้ออ่อน และสามารถเปลี่ยนรูปได้มาปั้นด้วยมือหรือเครื่องมืออย่างอื่นให้เป็นรูปทรงตามที่เราต้องการ
วัสดุที่ใช้ในการปั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑.  วัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว เป็นต้น
๒.  วัสดุสังเคราะห์ เช่น ดินน้ำมัน กระดาษผสมกาว เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้ในงานปั้น
เครื่องมือปั้นหรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการปั้น ใช้สำหรับทำลวดลายต่างๆ  หรือใช้ตกเเต่งงานปั้นให้สวยงามยิ่งขึ้น
นักเรียนสามารถหาอุปกรณ์เหล่านี้ได้ง่ายๆ จากสิ่งของรอบตัว เช่น ไม้บรรทัด ขวดน้ำ ช้อน ส้อม ฝาน้ำอัดลม เป็นต้น
การปั้นด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมัน เป็นการสร้างงานศิลปะอีกวิธีหนึ่ง โดยนำดินเหนียวหรือดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปต่างๆ ตามที่เราต้องการ
ขั้นตอนในการปั้น มีดังนี้
๑.  ปูกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนลงมือปั้น เมื่อไม่ให้ดินที่ปั้น เเละพื้นสกปรก
๒.  นวดดินเป็นเนื้อเดียวกันก่อนนำดินมาปั้น
๓.  ปั้นดินเป็นรูปทรงต่างๆ ตามความต้องการซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ปั้นเเบบเส้น ปั้นเเบบเเผ่น ปั้นเเบบอิสระ เป็นต้น
การปั้นเเบบต่างๆ ๑.  ปั้นเเบบเส้น มีวิธีปั้น ดังนี้
     ๑.๑  ปั้นดินให้เป็นเส้นยาวๆ
     ๑.๒  นำเส้นดินมาขดให้เป็นรูปทรงต่างๆ
๒.  ปั้นเเบบแผ่น มีวิธีปั้น ดังนี้
     ๒.๑  ปั้นดินให้เป็นแผ่นขนาดต่างๆ
     ๒.๒  นำดินที่เป็นแผ่นมาประกอบเป็นรูปทรงต่างๆ
๓.  ปั้นเเบบอิสระ
     การปั้นปั้นเเบบนี้ไม่มีวิธีปั้นตายตัวขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ใบไม้...สื่อเพื่อการเรียนรู้ของหนู







ใบไม้...สื่อเพื่อการเรียนรู้ของหนู

ลมพัดปลิวไหวไหว              
กิ่งก้านใหญ่พอทานลม
ใบไม้คนนิยม                      
ใช้เป็นร่มกั้นแดดฝน


ใบไม้คราใบเขียว                
น่าดูเชียวสายตาคน
ชอุ่มคราวยามยล                 
เหมือนฟ้าดลให้คู่กัน


บัดนี้ใบไม้แห้ง ลมพัดแรงก็หล่นพลัน
หล่นพื้นหลายคืนวัน            
จึงเป็นชั้นซ้อนดินดาน


ใบไม้กลายเป็นปุ๋ย               
ดินร่วนซุยเมื่อเนิ่นนาน
ปุ๋ยใดจักเทียมปาน               
เกิดจากการทับถมใบ


(บัวกันต์ 
วิลามาศ-ประพันธ์)


จากบทร้อยกรองข้างต้น ทำให้เราเห็นประโยชน์ของใบไม้มากมาย
ทั้งเป็นที่กันลมกันแดด ให้ความสบายตาสบายใจ ให้ปุ๋ยอันเป็นประโยชน์ต่อผืนดิน
และสำหรับเด็กๆ แล้ว "ใบไม้"
ยังให้ประโยชน์อีกมากมายจนเราอาจทึ่งว่าของใกล้ตัวอย่างใบไม้...ใครจะไปคิดว่าคุณพ่อคุณแม่
(หรือคุณครู)
สามารถนำมาเป็นเครื่องมือให้เจ้าตัวน้อยได้เรียนรู้สารพัดเรื่องราวได้ขนาดนี้

                ลองชวนเด็กๆ เก็บใบไม้ที่เขาเห็นใกล้ตัวมาหลายๆ แบบ
แล้วมาเรียนรู้เรื่องต่างๆ กัน บางเรื่องผู้ใหญ่อย่างเราๆ 
เองก็อาจไม่ได้สังเกตมาก่อนเหมือนกันว่าใบไม้น่ะมีเรื่องราวแฝงอยู่มากมาย

เรียนรู้เรื่องสี   ใบไม้มีหลายสี
ตั้งแต่สีเขียวสีเขียวที่เราคุ้นเคยไปจนถึงระดับต่างๆ สีเหลือง สีส้ม สีแดง
สีน้ำตาล  

เรียนรู้เรื่องรูปทรง   แค่ใบไม้ในสวนหลังบ้าน
ก็มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันมากมาย ทั้งใบเรียวยาว  ใบกลมป้อม 
ใบคล้ายหยดน้ำขนาดใหญ่  หรือใบมะนามไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น
ลองจับมาเรียงดูสิแล้วเราจะทึ่งกับความแตกต่างของรูปทรงใบไม้ที่เห็น

เรียนรู้เรื่องขนาด   ใบไม้มีตั้งแต่ใบเล็กจิ๋ว เช่น ใบมะขาม ใบขนาดกลาง
เช่น ผักบุ้ง  ไปจนถึงใบใหญ่  เช่น ใบกล้วย (ใบตอง)  หรือใบบัว เป็นต้น

เรียนรู้รื่องผิวสัมผัส  ใบไม้จะมีด้านที่เป็นเส้นใบนูนขึ้นมา ให้เด็กๆ
เอามือลูบดูผิวสัมผัสนั้น
และสังเกตความแตกต่างของเส้นใบนั้นว่าแต่ละชนิดมีเส้นใบที่ต่างกันหรือไม่ อย่างไร
หรือบางชนิดก็แข็งหนา บางชนิดก็บาง ให้ลูกได้สัมผัสถึงความแตกต่างนี้

เรียนรู้วิทยาศาสตร์  ให้เด็กๆ สังเกตใบไม้สด  (สีเขียว)  กับ ใบแห้ง
(สีน้ำตาล) ลองถามเขาว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการสอนเรื่องความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติตามหลักวิทยาศาสตร์

เรียนรู้จำนวน     ลองให้เด็กๆ
นับจำนวนใบไม้ในแต่ละกิ่งที่เขาตัดมาว่ามีเท่าไหร่
และเปรียบเทียบว่าต้นไม้ที่ต่างชนิดกันมีจำนวนใบในแต่ละกิ่งเท่ากันหรือแตกต่างกัน  เด็กๆ จะเห็นว่าใบไม้มีทั้งใบเดี่ยว
คือใบที่มีแผ่นใบไม้เพียงแผ่นเดียวบนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น และใบประกอบ
คือใบที่มีใบย่อยมากกว่าหนึ่งใบบนก้านใบ ลองนับและสังเกตกันดูสิจ๊ะ

เรียนรู้เรื่องประโยชน์   เด็กๆ
จะได้เรียนรู้ว่าใบไม้สีเขียวนั้นมีประโยชน์ต่อทุกสิ่งบนโลก สีเขียวให้ออกซิเจน
ให้ความสดชื่นสบายตาสบายใจ
ส่วนใบไม้ที่แก่ถึงเวลาที่ต้องร่วงหล่นลงพื้นนั้นก็จะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยให้พื้นดินต่อไป

ทำศิลปะง่ายๆ จากใบไม้กันเถอะ

*  พิมพ์ภาพใบไม้    การทำภาพพิมพ์จากใบไม้สามารถทำได้ทั้งในลักษณะสีแห้ง
คือการฝนสีเทียนบนกระดาษบางที่ทาบบนใบไม้  โดยหงายด้านที่เป็นเส้นใบขึ้น
ลายเส้นของใบไม้จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน 
และการพิมพ์โดยการระบายสีโปสเตอร์บนใบไม้ แล้วคว่ำไปบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น
กระดาษ หรือผ้า

* นำใบไม้มาแต่งภาพ   โดยใช้ใบไม้มาจัดแต่งภาพ เช่น อาจให้เด็กๆ
นำใบไม้ทั้งใบที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้มาติดในภาพเป็นภาพต้นไม้
อาจนำใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยวมาติดเป็นรูปพระจันทร์ หรือให้เด็กๆ
จินตนาการต่อเติมภาพจากใบไม้ หรืออาจนำใบไม้หลายสีมาตัดเป็นรูปทรง รูปร่างต่างๆ 
แล้วนำมาประกอบเป็นภาพของตัวเอง

*  ทำงานประดิษฐ์จากใบไม้   สามารถนำมาทำงานประดิษฐ์ได้มากมาย 
เช่นทำโมบาย ทำพวงหรีดแบบง่ายๆ เป็นส่วนประดับหมวก ทำเป็นปีกผีเสื้อ  ฯลฯ

โมบายใบไม้

    
นำใบไม้ที่มีสีสันสวยงาม สดใส นอกจากสีเขียวอาจเป็นใบสีเหลือง สีแดง และใบไม้แห้ง 
มาร้อยหรือติดกาวให้ยาวเป็นสายลงมาหลายๆ เส้น แล้วนำไปผูกที่น้าต่างหรือประตู
เป็นโมบายใบไม้ที่สวยงาม โดยไม่ต้องซื้อหาเลย 

* ดนตรีจากใบไม้      รู้มั้ยว่าเราสามารถสร้างเสียงดนตรีจากใบไม้ได้
ด้วยการเป่าใบไม้ให้เกิดเสียง อาจต้องอาศัยการฝึกฝนบ้าง แต่ก็ไม่ยากที่จะลองทำดู
ขั้นแรกก็เลือกใบไม้ที่มีความบาง มีความมัน ยืดหยุ่นได้ดี เช่น ใบฝรั่ง ใบมะม่วง 
ใบมะยม หรือใบอ่อน ฯลฯ  แล้วใช้ริมฝีปากและแรงลมเป่า
เพื่อให้ริมฝีปากกับใบไม้ออกเสียงได้ตรงตามเสียงที่ต้องการ

เรียนรู้กันเพิ่มเติม...

  • ใบไม้กินได้ เรียกว่าผัก
  • ลักษณะนามของใบไม้ คือ "ใบ"
  • ให้เด็กๆ สังเกตใบไม้เมื่อลมพัดมาว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร
    และลองให้เขาทำท่าเลียนแบบการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่เขาเห็น
  • แข่งกันแต่งประโยคที่มีคำว่า "ใบไม้" ให้ได้มากที่สุด
  • ตั้งคำถามให้เด็กๆ ตอบว่า หากโลกนี้ไม่มีใบไม้ เขาคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • ให้ลูกเด็ดใบไม้สีเขียวสอดไว้ในสมุดหน้าละ 1 ใบ ไม่ให้ซ้อนกัน
    จากนั้นนำหนังสือหนักๆ ทับสมุด ปล่อยทิ้งไว้สัก 1 อาทิตย์ กลับมาดูอีกที
    จะเห็นว่าใบไม้เขียวกลายเป็นใบไม้แห้ง ที่ลูกสามารถเห็นเส้นใบได้อย่างชัดเจน
    จากนั้นนำแต่ละใบมาจัดเรียงให้เป็นระเบียบ ทากาวบางๆ ติดลงไป
    แล้วเขียนชื่อใบไม้แต่ละใบ วันที่ และสถานที่ที่เก็บได้
    จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับใบไม้ได้ลึกซึ้งขึ้น เช่น
    การเปลี่ยนแปลงของสีสัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

แม่สี

แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่
ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม

แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง
เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
อยู่ในรูปของแสง


รังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์
การจัดแสงสี


ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี)

2. แม่สีวัตถุธาตุ
เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง
สีเหลือง และสี


น้ำเงิน
แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้ งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ 
วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ


          แม่สีวัตถุธาตุ
เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี
ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกัน


ของแม่สีวัตถุธาตุ
เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ในวงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้



วงจรสี   ( Colour Circle)  
   สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง  
สีเหลือง  สีน้ำเงิน
  



   สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1
หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
 



เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ 

                   สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
                  
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
                   สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน 
ได้สีเขียว
  
   สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่
2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
  



  อีก 6  สี คือ
                  
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
                   สีแดง ผสมกับสีม่วง 
ได้สีม่วงแดง
                   สีเหลือง ผสมกับสีเขียว
ได้สีเขียวเหลือง
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว 
ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง 
ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   สีเหลือง ผสมกับสีส้ม
ได้สีส้มเหลือง
  
  



          วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น
ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง



ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
  



          สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน
หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง
ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้



ร่วมกัน
เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน
อาจกระทำได้ดังนี้





 


     1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
     2. ผสมสีอื่นๆ
ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
     3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
  


          สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ
สีน้ำตาล กับ สีเทา สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันใน


วงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ
ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้น


โดยไม่เปลี่ยนแปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล สีเทา
เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน


ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ
แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา


ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา